คำที่มักอ่านผิดบ่อย

1.Value (n., v.)
prize, esteem, cherish; assess, estimate, appraise

ไหนๆก็ยกคำว่า volume เป็นประเด็นเกริ่นนำไปแล้ว ก็ขอเอาฝาแฝดมาด้วยอีกคำ
คำว่า Value ถ้าอ่านออกเสียงแบบถูกต้องจริงๆ ต้องอ่านว่า "แฟยิ่ว" ครับ
อันนี้ยืนยันจากประสบการณ์ตรงได้ว่า ถ้าอ่านว่า "แวลู่" ฝรั่งมันงงจริงๆ
พยางค์หลัง พยัญชนะต้นคือตัว U ไม่ใช่ตัว L นะครับ ฟังดูกระแดะมากๆ
แต่ถ้าจะอ่านให้ถูกต้อง ต้องยอมกระแดะครับ เราต้องอดทนเพื่อความถูกต้อง!

2.Error (n.)
the state of being wrong in conduct or judgement
ใครอ่านคำนี้ว่า "เออ-เร่อ" บ้างครับ? ยกมือขึ้นเดี๋ยวนี้!!! นั่นไง เพียบเลย...
คำนี้ผมอ่านว่า "เออเร่อ" มาจนถึงไม่กี่ปีนี้ถึงจะได้บรรลุธรรมว่ามันผิด!
ที่ผ่านๆมา อ่านตามชาวบ้านมาตลอด เออเร่อๆ อ๋อเหรอ เออๆ เหรอๆ เออเร่อๆ...
คำนี้คำที่ถูกต้องอ่านว่า "แอ-เร่อะ" ออกเสียงหนักที่พยางค์แรก
ส่วนพยางค์สองแทบไม่ต้องออกเสียงเลยครับ ออกเสียงคล้าย" แอ๊ร์..."

3.Effect (n., v.)
result, outcome; influence; impact; gimmick, trick; natural phenomenon
คำนี้คนไทยออกเสียงผิดประมาณ 99.7% (อีก 0.2% อ่านภาษาอังกฤษไม่ออก)
เพราะเราจะคุ้นเคยกับคำว่า special effect (สเปล เอฟเฟกต์) ใช่มั้ยครับ
เจอคำนี้เดี่ยวๆปั๊บ เราก็เอฟเฟกต์กันทันใดเชียว ...
คำอ่านที่ถูกต้องของคำนี้คือ "อิ๊เฟกต์" ครับ ออกเสียง f แค่ตัวเดียว
ดังนั้น วันหลังไปดูคอนเสิร์ต หรือหนังแล้วก็อย่าออกเสียงเสล่อๆนะครับ
"The special effect in Transformer 2 is awesome"
สเปลอิเฟกต์ในหนังเรื่องทรานสฟอร์มเมอร์ภาคใหม่:-)เจ๋งเห้ยๆเลยเมิง

4.Purpose (n., v.)
goal, aim; intention, objective
ผมว่าหลายคนสับสนคำนี้กับคำว่า propose (n.) ที่แปลว่านำเสนอ หรือขอแต่งงาน
ซึ่งอ่านออกเสียงว่า "โพรโพ้ส" ตามรูปที่เราเขียนตรงๆ ...
หลายคนก็เลยเข้าใจว่า งั้น purpose ก็ต้องอ่านว่า "เพอร์โพส" น่ะสิ...
เหมือนจะถูก ... แต่ผิดครับ
คำนี้ออกเสียงว่า "เพ้อร์เพิส" พยางค์หลังออกเสียงสั้นครับ

5.genre (n.)
type, style, kind, category
ใครที่ใช้โปรแกรม iTunes ต้องเคยเห็นคำนี้กันทุกคนแน่ๆ
เพราะมันคำที่ใช้แบ่งประเภทของเพลง เช่น pop / R&B / Classic ไรงี้
ซึ่งถ้าอ่านตรงตามที่เห็น คงอ่านกันว่า "เจนรี่" หรือ "เจนเร่" ใช่มั้ยครับ?
ฮ่าๆ... ผมก็เคยอ่านมันว่า "เจอเนอเร่" เหมือนกัน เสล่อเป็นที่สุด
คำอ่านที่ถูกต้องของคำนี้อ่านว่า "ชองระห์" ครับ ...
คำนี้เป็นคำยืมจากภาษาฝรั่งเศส เลยอ่านแบบกระแดะแบบนี้ล่ะครับ

6.debt (n.)
obligation, something owed (as in money)
คำนี้เป็นคำที่อาจารย์สอนวิชา principle of investment
ตอนผมเรียนปีสาม สอนเป็นเรื่องแรกๆเลยครับ ... นอกจาก
จะสอนว่า debt แปลว่าหนี้สิน ซึ่งอยู่ในสมการงบดุล สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน
อาจารย์ยังสอนแบบย้ำนักย้ำหนาด้วยครับว่าคำนี้อ่านว่า "เด๊ท" นะคะนิสิต
ถ้านิสิตอ่านว่า "เด๊บ" นี่อาจารย์หักคะแนนจิตพิสัยนะคะ ...

7.fragile (adj.)
easily broken, flimsy; frail, weak, feeble
มีอยู่วันนึง ขณะกำลังต่อแถวเข้าคิวเช็คอินขึ้นเครื่องบิน
จำได้สนิทว่า คนที่อยู่หน้าผมเป็นคุณนายกระบังลมบิลลาบอง
บอกกับพนักงานอย่างชัดเจนว่า "ในกระเป๋ามีน้ำหอมนะคะ
ห้ามโยนนะคะ เดี๋ยวมันจะแตก ช่วยติดป้ายฟราจิ้วให้ด้วยค่ะ ..."
ห๊ะ ... ฟราจิ้ล??? ... อะไรวะ ฟราจิ้ล ... โค้ดลับสายการบินไหนเรอะ
พอผมเห็นพนักงานเอาสติ๊กเกอร์แถบสีส้มที่มีรูปแก้วไวน์แตกมาติดเท่านั้นแหละ
ถึงได้รู้ว่าคุณนายคนนั้นเค้าหมายถึง fragile ที่แปลว่า เปราะบางครับ
คำนี้อ่านว่า แฟรกไจล์ นะครับ ... ฟราจิ้ลนี่เสล่อเด้อๆนางเด่อมากครับ

8.comfortable (adj.)
easy; relaxing; bringing comfort; financially well to do
คำนี้ก็ไม่เชิงผิดหรอกนะครับ แต่คนไทยมักจะลงเสียงหนักผิดที่
เพราะตอนเด็กๆ ผมก็ชอบไปหนักเสียงที่พยางค์ที่สองเป็นประจำ
เราเลยมักอ่านกันว่า "คอมฟ้อร์ทเทเบิ้ล" กันสนุกปาก
แต่อันที่จริง คำนี้ออกเสียงหนังที่พยางค์แรก ส่วนพยางค์สองแทบไม่ออกเสียง
การออกเสียงที่ถูกต้องจึงควรเป็น คั้มฟท์เทเบิ้ล ครับ ... คือมันไม่ "ฟอร์ท" อะครับ
มันจะมีเสียง "ฟึ่ท" สั้นๆเบาๆอยู่หลังพยางค์แรกแค่นิดเดียวครับ
อ่ะ ลองดูครับ ลองออกเสียงดู คั้มฟท์เทเบิ้ล... อืม เก่งมากครับ




9.effort (n.)
physical or mental exertion, labor; attempt; something accomplished
through hard work; organized operation
เป็นอีกคำที่สร้างความสับสนให้กับชีวิตนักเรียนสอบเอนท์ครับ
เพราะจะไปสับสนกับคำว่า afford (n.) ที่อ่านว่า "อะฟอร์ด"
ไม่อ่านว่า แอ๊ฟฟอร์ดนะครับ ออกเสียง f ตัวเดียว อะฟอร์ดนะครับ
ซึ่งคำนี้แปลว่า จ่ายไหว, พอมีได้โดยไม่ยากลำบากนัก อะไรทำนองนี้
แต่คำว่า effort นั้นออกเสียงว่า "เอฟเฟิร์ท" ครับ
พยางค์หลังออกเสียงสั้นคล้ายกับคำว่า purpose นั่นแหละครับ
คำนี้แปลว่า ความมุ่งมานะ พยายาม อุตสาหะ

10.screen saver (n.)
a program which, after a set time, replaces an unchanging screen
display with a moving image to prevent damage to the phosphor.
ฮ่าๆ คำนี้นี่ฟังดูไร้สาระที่สุดในบรรดาสิบคำแล้วครับ แต่ขอบอกว่าอ่านผิดกันเพียบ
ถึงจะเขียนง่ายอ่านง่าย แต่คนก็อ่านผิดกันตรึม เพราะไปอ่านกันว่า
"สกรีน เซิฟเวอร์" ซึ่งมันควรจะสะกดว่า screen server แทนสิครับ
คำนี้จริงๆอ่านว่า สกรีน เซฟเฟอร์ นะครับ อย่าสับสน saver นะครับ!

genius

10 อันดับคนอัจฉริยะที่สุดของโลก


10. Elaina Smith: ผู้ให้คำปรึกษาปัญหาชีวิตอายุ 7 ขวบ
สถานีวิทยุท้องถิ่นได้เสนองานให้คำ ปรึกษาปัญหาชีวิตกับหนูน้อย Elaina เมื่อเธอโทร. เข้ามาให้คำแนะนำกับหญิงสาวคนหนึ่งที่โทร. มาปรึกษาสถานีเรื่องที่เธอถูกแฟนทิ้ง คำแนะนำง่าย ๆ ของ Elaina คือการบอกให้หญิงสาวผู้นั้นออกไปโยนโบว์ลิ่งกับเพื่อนและก็ดื่มนมสักแก้วนึง โต ๆ และนั่นทำให้เธอได้เวลาจัดรายการแก้ปัญหาชีวิตรายสัปดาห์จากสถานีจนได้รับความนิยมจากผู้ฟังนับพัน เธอรับปรึกษาตั้งแต่ปัญหาเรื่องจะทิ้งแฟนอย่างไร จะทำยังไงเมื่อเลิกกับแฟน ไปจนกระทั่งปัญหากลิ่นตัวของพี่น้องในบ้าน
ครั้งหนึ่งได้มีคนฟังโทรศัพท์มาถาม Elaina ว่าทำยังไงเธอถึงจะได้แฟนของเธอกลับมา หนูน้อยบอกไปว่า " ผู้ชายคนนั้นไม่มีค่าพอที่จะคร่ำครวญถึง ชีวิตคนเรามันสั้นเกินกว่าจะไปเศร้าโศกถึงผู้ชายแค่คนเดียว"


9. Willie Mosconi: เริ่มชีวิตนักบิลเลียดอาชีพเมื่ออายุเพียง 6 ขวบ
William Joseph Mosconi หรือเจ้าของฉายา "Mr. Pocket Billiards" (pocket billiard = พูล) หนูน้อยจาก Philadelphia, Pennsylvania มีบิดาเป็นเจ้าของโต๊ะพูลแต่กลับไม่ยอมให้เขาเล่นพูล แต่ Willie ก็ไม่ยอมแพ้โดยเลี่ยงไปฝึกฝนด้วยหัวมันฝรั่งกับด้ามไม้กวาดเก่า ๆ ในครัวของแม่ ไม่นานนักพ่อของเขาก็ได้เห็นความเป็นอัจริยะ จึงได้จัดให้มีการแข่งขันท้าประลองเกิดขึ้น และ Willie ก็สามารถเอาชนะคู่แข่งที่มีอายุและประสบการณ์เหนือกว่าตนเองมากมายได้ ทั้ง ๆ ที่เขายัง ต้องยืนบนกล่องต่อขาเพื่อให้สูงถึงโต๊ะจนเล่นได้ก็ตาม
ใน ปี 1919 ได้มีการจัดการแข่งขันระหว่างหนูน้อย Willie วัย 6 ขวบและแชมป์โลกอย่าง Ralph Greenleaf แม้ Greenleaf จะเป็นผู้ชนะแต่ Willie ก็เล่นได้ดีมากและทำให้เขาก้าวเข้าสู่วงการบิลเลียดอาชีพตั้งแต่บัดนั้น และในปี 1924 Willie ก็ได้เป็นแชมป์ straight pool (พูล 15 ลูก) เยาวชนรุ่นอายุไม่เกิน 11 ปี และมีงานเดินสายโชว์เทคนิคการเล่นอย่างสม่ำเสมอ
ใน ช่วงปี 1941-1957 Willie ก็ได้ครองแชมป์ BCA (Billiard Congress of America) World Championship ถึง15 สมัย เป็นผู้ริเริ่มเทคนิคใหม่ ๆ ในการตีบิลเลียด สร้างสถิติมากมาย และยังช่วยทำให้กีฬาบิลเลียดกลายเป็นที่นิยมอีกด้วย ปัจจุบันเขาก็ยังเป็นเจ้าของสถิติสูงสุดในการตีลูกได้ติดต่อกัน ถึง 526 ลูกในการแข่งขัน Straight Pool


8. Fabiano Luigi Caruana: แกรนมาสเตอร์หมากรุกอายุน้อยที่สุด
Fabiano หนุ่มน้อยสองสัญชาติ (อเมริกัน-อิตาลี) ปัจจุบันอายุ 16 ปี เขาได้เป็นแกรนมาสเตอร์ตั้งแต่ปี 2007 ตอนนั้นเขามีอายุเพีย 14 ปี 11 เดือน 20 วัน ถือได้ว่าอายุน้อยที่สุดในประวัติศาตร์ของอิตาลีและอเมริกา และเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาสมาพันธ์หมากรุกโลก (World Chess Federation (FIDE)) ได้ประกาศว่า Fabiano นั้นมีอันดับโลกอยู่ที่ 2649 ทำให้ เขากลายเป็นนักหมากรุกที่มีอันดับสูงสุดสำหรับรุ่นอายุต่ำกว่า 18 ปี


7. Michael Kevin Kearney: รับปริญญาใบแรกเมื่ออายุ 10 ขวบและกลายเป็นเศรษฐีจากการเล่นเรียลลิตี้โชว์
หนุ่มวัย 24 ผู้นี้เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้ที่เรียนจบมหาวิทยาลัยที่อายุน้อยที่สุดในโลก และเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเมื่ออายุเพียง 17
ในปี 2008 เขาชนะ้รางวัล 1 ล้านเหรียญสหรัฐจากการเล่นเกมโชว์ที่ชื่อว่า Who Wants to be a Millionaire? นอกจากนี้เขายังทำสถิติโลกไว้อีกหลายอย่าง
Kearney เริ่มพูดคำแรกเมื่ออายุ 4 เดือน เมื่ออายุได้ 6 เดือน เขาบอกกับกุมารแพทย์ของเขาว่า "ผมติดเชื้อที่หูซ้ายฮะ" อายุ 10 เดือนก็เริ่มเรียนเขียนอ่าน อายุ 4 ขวบได้เข้าร่วมการทดสอบทางคณิตศาสตร์ของสถาบัน Johns Hopkins และได้คะแนนเต็ม เรียนจบไฮสคูลเมื่ออายุ 6 ขวบ และเข้าเรียนที่ Santa Rosa Junior College จนจบปริญญาเมื่ออายุ 10 ขวบ
ในปี 2006 ชื่อเสียงของเขาดังไปทั่วโลกเมื่อเขาเล่นเกมออนไลน์ Gold Rush จนชนะและได้รางวัล 1 ล้านเหรียญเป็นคนแรก

6. Saul Aaron Kripke: Harvard( มหาวิทยาลัยอันดับ1 ของโลก) เชิญให้ไปสมัครเป็นอาจารย์ขณะที่ยังเรียนไฮสคูล
Kripke เป็นลูกชายของพระแรบไบ เกิดที่นิวยอร์คและโตที่ Omaha รัฐ Nebraska เริ่มศึกษาพีชคณิตเมื่อตอนอยู่เกรด 4 และพอจบชั้นประถมก็เรียนรู้เรขาคณิตและแคลคิวลัสจนทะลุปรุโปร่ง และเริ่มหันไปให้ความสนใจกับปรัชญา
Kripke เขียนบทความหลายชิ้นทั้งในเรื่องของอรรถศาสตร์ (semantics) และตรรกวิทยาแบบ modal logic ในขณะที่มีอายุเพียง 16 ปี และหนึ่งในผลงานด้านตรรกวิทยานั้นทำให้เขาได้รับจดหมายเชิญจากภาควิชา คณิตศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เชิญชวนให้เขาไปสมัครเป็นอาจารย์ ซึ่งเขาก็ได้เขียนตอบปฎิเสธไปว่า "แม่ผมบอกว่าให้ผมเรียนให้จบไฮสคูลและมหาวิทยาลัยเสียก่อนดีกว่า" และเมื่อเขาเรียนจบไฮสคูลเขาก็เลือกเรียนต่อที่ฮาร์วาร์ด
Kripke ได้รับรางวัล Shock Prize ซึ่งเป็นรางวัลทางด้านปรัชญาที่เทียบได้กับรางวัลโนเบล ปัจจุบันเขาได้รับการยกย่องว่า เป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังมีชีวิตอยู่


5. Aelita Andre : หนูน้อยที่มีผลงานภาพออกแสดงในแกลลอรี่มีชื่อเสียง ด้วยวัยเพียง 2 ขวบ
ศิลปินแนว Abstract อายุเพียง 2 ขวบผู้นี้ได้กลายเป็นบุคคลที่ชาวออสเตรเลียกล่าวถึงเป็นอันมาก เมื่อผลงานของเธอได้ออกแสดงใน Brunswick Street Gallery ใน Melbourne's Fitzroy
Mark Jamieson ผู้อำนวยการของแกลลอรี่ดังกล่าวได้เห็นภาพที่ Nikka Kalashnikova นักถ่ายภาพคนหนึ่งที่มีงานแสดงในแกลลอรีนำมาให้ดูและเขาก็ชอบจนตกลงใจที่จะ จัดการแสดงภาพเหล่านั้น จนเมื่อได้มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์งานในนิตยสารต่าง ๆ แล้ว เขาจึงได้ทราบว่าเจ้าของผลงาน คือลูกสาวของ Kalashnikova นั่นเอง และมีอายุเพียง 22 เดือน แม้ Jamieson รู้สึกอับอายไม่น้อย แต่ก็ตัดสินใจที่จะแสดงผลงานของหนูน้อยต่อไป


4. Cleopatra Stratan : นักร้องเด็กอายุเพียง 3 ขวบ มีรายได้ 1,000 ยูโรต่อเพลง (47,000-48,000 บาท)
Clepotra เกิดเมื่อ 6 ตุลาคม 2002 ที่เมืองคีชีเนา ประเทศมอลโดวา เป็นลูกสาวของนักร้องเชื้อสายมอลโดวา-โรมาเนีย เธอเป็นนักร้องอายุน้อยที่สุดที่ประสบความสำเร็จด้วยอัลบั้มในปี 2006 ของเธอที่ชื่อว่า"At the age of 3″ และยังเป็นเจ้าของสถิติศิลปินอายุน้อยที่สุดที่เปิดการแสดงสดตลอด 2 ชั่วโมงต่อหน้าผู้ชมจำนวนมาก เป็นศิลปินเด็กที่ค่าตัวสูงสุด เป็นศิลปินอายุน้อยที่สุดที่จะได้รับรางวัล MTV และเป็นศิลปินที่อายุน้อยที่สุดที่มีเพลงติดชาร์ตอันดับหนึ่งในประเทศโรมาเนีย
http://www.youtube.com/watch?v=GDq-E708lHU
( ลองเข้าไปฟังเพลงของเธอได้ ตามลิ้งค์ด้านบนเลยค่ะ ^^ )


3. Akrit Jaswal : ศัลยแพทย์อายุ 7 ขวบ
Akrit Jaswal เป็นชาวอินเดีย และได้รับการขนานนามว่า "เด็กผู้ชายที่ฉลาดที่สุดในโลก" เพราะมี IQ ถึง 146 และได้รับการยอมรับว่าเป็นคนที่ฉลาดที่สุดในเด็กที่อายุเท่า ๆ กันในอินเดีย ประเทศที่มีประชากรนับพันล้านคน
Akrit กลายเป็นจุดสนใจของสาธารณะในปี 2000 เมื่อเขาได้ทำการรักษาคนไข้คนแรกที่บ้านของเขาเองเมื่อมีอายุเพียง 7 ขวบ คนไข้เป็นเด็กผู้หญิงอายุ 8 ขวบ มีฐานะยากจนไม่มีเงินพอที่จะไปหาหมอได้ มือของเธอถูกไฟลวกทำให้นิ้วมือกำแน่นติดกัน Akrit ในตอนนั้นยังไม่ได้เรียนแพทย์อย่างเป็นทางการและยังไม่มีประสบการณ์ในการผ่า ตัดใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เขาก็สามารถทำให้นิ้วมือของเด็กหญิงคลายออกมาได้และใช้มือได้เป็นปกติอีก ครั้ง ขณะนี้ Akrit กำลังเรียนปริญญาตรีวิทยาศาสตร์อยู่ที่ วิทยาลัย Chandigarh และเป็นนักศึกษาที่อายุน้อยที่สุดที่มหาวิทยาลัยอินเดียเคยรับเข้าเรียน


2. Gregory Smith: ผู้ได้รับการเสนอชื่อให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เมื่ออายุ เพียง 12 ปี
Gregory เกิดในปี 1990 อ่านหนังสือออกตั้งแต่อายุ 2 ขวบ และเข้าเรียนมหาวิทยาลัยเมื่ออายุ 10 ขวบ ความเป็นอัจฉริยะของเขานั้นยังไม่ได้ครึ่งของเรื่องราวของเด็กหนุ่มคนนี้ เมื่อเขาตัดสินใจออกเดินทางไปทั่วโลกเพื่อรณรงค์เรื่องสันติภาพและสิทธิ เด็ก
Gregory Smith เป็นผู้ก่อตั้ง International Youth Advocates ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้การสนับสนุนหลักการแห่งสันติภาพและความเข้าอกเข้าใจในระหว่างเยาวชนทั่วโลก เขาเคยได้พบกับผู้นำคนสำคัญอย่าง Bill Clinton และ Mikhail Gorbachev และยังเคยปฐกถาต่อหน้าที่ประชุม UN อีกด้วย
จากการทำงานด้านมนุษยธรรมนี้ ทำให้เขาได้ถูกเสนอชื่อให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพถึง 4 ครั้ง แต่ความสำเร็จครั้งล่าสุดที่เขาเพิ่งได้รับคือ…มีใบขับขี่เป็นของตัวเองได้ซะทีนั่นเอง


1. Kim Ung-Yong: เข้ามหาวิทยาลัยเมื่ออายุ 4 ขวบ จบปริญญาเอกตอนอายุ 15 และมี "IQ สูงที่สุดในโลก เท่าที่ยังมีชีวิต"
Kim Ung-Yong เกิดในปี 1962 และอาจจะถือได้ว่าเป็นมนุษย์ที่ฉลาดที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ โดย Guinness Book of World Records ได้บันทึกว่าเขามี IQ สูงที่สุดในโลกคือสูงกว่า 210
คิมอ่านภาษาญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมัน และอังกฤษ ได้ตั้งแต่ 4 ขวบ ตอนวันเกิดครบ 5 ขวบ เขาก็สามารถแก้โจทย์แคลคิวลัส (differential and integral calculus) ที่ซับซ้อนได้ หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ได้ไปออกรายการทีวีญี่ปุ่นแสดงสามารถทางภาษาจีน สเปน เวียดนาม ตากาลอก เยอรมัน อังกฤษ ญี่ปุ่น และเกาหลี
คิม เป็นนักเรียนรับเชิญในชั้นเรียนวิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัย Hanyang ตั้งแต่อายุ 3 – 6 ขวบ พออายุ 7 ขวบ NASA ได้เชิญเขาไปอเมริกาและเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย Colorado ในปี 1974 จนได้ Ph.D ด้านฟิสิกส์ ตั้งแต่ก่อนที่เขาจะมีอายุครบ 15 เสียอีก ระหว่างที่เรียนมหาวิทยาลัยเขาก็เริ่มทำงานวิจัยที่ NASA ด้วย และทำต่อมาตลอดจนกระทั่งเขากลับเกาหลีในปี 1978 และได้ตัดสินใจเปลี่ยนสาขาจากฟิสิกส์ไปเป็นวิศวกรรมโยธาและได้ศึกษาจนได้รับ ปริญญาเอกอีกเช่นกัน